อย่างที่รู้กันว่าข่าวเศรษฐกิจ หรือตัวเลขทางเศรษฐกิจต่างๆนั้นมีความสำคัญต่อราคาในตลาดอัตราแลกเปลี่ยน เราควรรู้ว่าข่าวอะไรมีความหมายอย่างไร และ มีความสำคัญมากแค่ไหน ซึ่งเราจะแบ่งระดับความสำคัญของข่าวออกเป็น 3 ระดับคือ
1. สำคัญมาก (High Impact)
ชื่อก็บอกอยู่แล้วว่าสำคัญมาก ซึ่งจะเป็นข่าวและตัวเลขที่มีผลกระทบกับค่าเงินของประเทศนั้น ๆ อย่างแรง เมื่อตัวเลขประกาศแล้ว จะมีปริมาณการซื้อขายที่สูงมาก ๆ ซึ่งจะส่งผลอยู่ประมาณ 5 – 10 นาที เราอาจจะได้เห็นกราฟเป็นแท่งยาว ๆ ทั้งขึ้น และ ลง ในเวลาเดียวกัน ได้แก่
1. Non-farm Payrolls
2. Unemployment Rate
3.Trade Balance
4. GDP ( Gross Domestic Production )
5. PCE Price Deflator ( Personal Consumption Expenditure)
6 .CPI ( Consumer Price index )
7. TICS ( Treasury International Capital System )
8. FOMC ( Federal open Market committee meeting )
9 .Retail Sales
10 .Univ. Of Michigan Consumer Sentiment Survey
11. PPI ( Producer Price Index )
2. สำคัญ (Medium Impact)
อันนี้ก็สำคัญ ก็จะส่งผลกระทบกับตลาดเงินมากแต่น้อยกว่า “สำคัญมาก” อยู่นิดหน่อย ซึ่งก็จะส่งผลให้มีกราฟแท่งยาว ๆ แต่มักจะไม่รุนแรงเท่าแบบแรก ข่าวเหล่านั้นได้แก่
12. Weekly Jobless Claims
13. Personal Income
14. Personal spending
15. BOE Rate Decision ( Bank Of England )
16. ECB Rate Decision ( Europe Central Bank )
17. Durable Goods orders
18. ISM Manufacturing Index ( Institute of Supply Manager )
19. Philadelphia Fed. Survey
20. ISM Non-Manufacturing Index
21. Factory Orders
22. Industrial Production & Capacity Utilization
23. Non-Farm Productivity
24. Current Account Balance
25 .Consumer Confidence ( Consumer Sentiment )
26 .NY Empire State Index - ( New York Empire Index )
27 .Leading Indicators
28. Business Inventories
29. IFO Business Index ( Institute of IFO in Germany )
3. ทั่วไป (Low Impact)
อันนี้จะเป็นข่าวเศรษฐกิจทั่ว ๆ ไป มีผลบ้างเล็กน้อยถึงปานกลาง หากประกาศวันเดียวกับ 2 ตัวบน อาจจะไม่ส่งผลอะไรสำคัญเลย แต่ถ้าประกาศตัวเดียว โดด ๆ อาจมีผลบ้างโดยหากสวนทางกับ 2 ตัวข้างบนอาจทำให้ตลาดนำข่าวนี้มาเล่นได้ เพราะจะเป็นตัววัดอย่างหนึ่งว่า ตัวเลขอื่นอาจจะหลอกลวงได้
30 Housing Starts
31 Existing Home sales
32 New Home Sales
33 Auto and Truck sales
34 Employee Cost Index - Labor Cost Index
35 M2 Money Supply - Money Cost
36 Construction Spending
37 Treasury Budget
38 Weekly Chain Stores - Beige Book -Red Book
39 Whole Sales Trade
40 NAPM ( National Association of Purchasing Management)
กลุ่มข่าวที่สำคัญมาก
Non-farm Payrolls หรือ NFP
คือ ตัวเลขการจ้างงานนอกภาคการเกษตรของสหรัฐ นี้จะรายงานตัวเลขการจ้างงานทั้งหมดของคนงานสหรัฐในธุรกิจต่างๆ แต่จะไม่นับรวมกลุ่มลูกจ้างในภาคการเกษตร ถือว่าเป็นข่าวที่แรงที่สุดในบรรดาข่าวทั้งหลาย เมื่อมีการประกาศตัวเลขนี้ออกมา ราคามักจะมีการกระชากขึ้นลง จะมีการประกาศในวันศุกร์แรกของทุกเดือน ตัวเลขที่มากกว่าคาดการณ์ถือว่าดี จะมีผลทำให้ค่าเงินแข็งค่าขึ้น
Unemployment Rate
คือ การสรุปตัวเลขอัตราการว่างงาน ของสหรัฐอเมริกา จะประกาศในช่วงศุกร์ต้นเดือน หรือถ้ากระชั้นชิดมากอาจจะเลื่อนมาศุกร์ที่สองของเดือน เป็นการประกาศตัวเลขอัตราว่างงานของเดือนก่อนหน้า ตัวเลขจะสะท้อนภาพเศรษฐกิจโดยตรงคือถ้ามีการว่างานในอัตราสูง แสดงว่าเศรษฐกิจกำลังอ่อนแอ แต่ถ้าตัวเลขออกมาน้อย แสดงว่าเศรษฐกิจกำลังขยายตัว และมีผลดีต่อค่าเงินด้วย
Trade Balance
คือ ดุลการค้า แสดงถึงความแตกต่างของมูลค่าระหว่างการนำเข้าและส่งออกสินค้าและบริการ ในการดูก็คือถ้าตัวบวกแสดงให้เห็นว่ามีการส่งออกมากกว่านำเข้า(เกินดุล) ถ้าตัวเลขเป็นลบก็แสดงว่ามีการนำเข้าสินค้ามากกว่าส่งออก(ขาดดุล) โดยปกติจะประกาศทุกวันที่ 20 ของเดือน ซึ่งจะเป็นข้อมูลของ 2 เดือนก่อนหน้านี้ โดยการประกาศจะบอกให้รู้ถึงทิศทางของการส่งออกและการนำเข้า ซึ่งตัวเลข Trade Balance จะสามารถคาดคะเนตัวเลข GDP ในอนาคตได้ ตัวเลข Trade Balance จะนำค่าตัวเลข Export ลบกับ ตัวเลข Import หากผลที่ออกมามีค่าเป็น + จะหมายถึงเศรษฐกิจที่ดี และมีผลทำให้ค่าเงินแข็งค่าขึ้นตามไปด้วย
Gross Domestic Product หรือ GDP
คือ ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ จะประกาศทุก ๆ สัปดาห์ที่ 3 หรือ 4 ของเดือน โดย GDP คือตัววัดที่กว้างที่สุดเกี่ยวกับความเคลื่อนไหวของเศรษฐกิจ การที่ตัวเลข GDP เปลี่ยนแปลงไปจะหมายถึงความเปลี่ยนแปลงของอัตราการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจ ซึ่งจะบ่งบอกเกี่ยวพันถึงอัตราเงินเฟ้อ การที่ตัวเลข GDP เพิ่มขึ้นจะทำให้ค่าเงินแข็งค่าขึ้นตามไปด้วย
Personal Consumption Expenditure หรือ (PCE)
คือ ดัชนีวัดค่าใช้จ่ายในการอุปโภคบริโภคส่วนบุคคล จะประกาศทุก ๆ วันแรกของการทำงานของเดือน โดย PCE จะบอกถึงการอุปโภคบริโภคของภาคครัวเรือน โดย PCE จะบ่งบอกถึงความสามารถในการจับจ่ายของภาคครัวเรือน โดยตัวเลข PCE ที่สูงจะบ่งบอกถึงเศรษฐกิจที่เติบโต ซึ่งจะทำให้ค่าเงินแข็งค่าขึ้น
Consumer Price Index หรือ CPI
หมายถึง ดัชนีราคาผู้บริโภค จะประกาศทุก ๆ วันที่ 13 ของเดือน โดย CPI จะเป็นตัววัดเกี่ยวกับระดับราคาของสินค้าและบริการที่ซื้อโดยผู้บริโภค CPI ที่เห็นประกาศกันจะมี CPI กับ Core CPI ซึ่งต่างกันตรงที่ว่า Core CPI จะไม่รวม ภาคอาหารและ ภาคพลังงานโดยปกติ CPI จะเป็นตัวที่บ่งบอกถึงอัตราเงินเฟ้อ โดยตัวเลข CPI ที่สูงจะเป็นตัววัดเรื่องอัตราเงินเฟ้อที่สูงขึ้น ซึ่งจะทำให้ค่าเงินอ่อนค่าลง
Treasury International Capital System หรือ TICS
คือ ระดับการลงทุนในประเทศสหรัฐฯ จะประกาศทุกวันที่ 5 ของการทำงานในแต่ละเดือน โดย TIC จะรวบรวมข้อมูลของสหรัฐเพื่อดูว่าการลงทุนของคนในประเทศสหรัฐอเมริกาและคนต่างชาติว่าเป็นอย่างไรบ้าง โดยหากข้อมูล TICS เป็นตัวเลขที่สูงจะหมายถึงเศรษฐกิจสหรัฐที่แข็งแกร่งซึ่งมีผลทำให้ค่าเงินแข็งค่าขึ้น
Federal Open Market Committee หรือ FOMC
คือการประชุมของธนาคารกลางสหรัฐ (Fad) จะประชุมเมื่อไร ไม่มีกำหนดตายตัวแน่นอน แล้วแต่เค้าจะนัดกัน โดยการประชุมจะดูภาพรวมและผลของการประชุม ส่วนที่สนใจกันมากที่สุดคือเรื่องของอัตราดอกเบี้ย รวมถึงการปรับอัตราดอกเบี้ย ถ้าปรับอัตราดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นจะมีผลทำให้ค่าเงินแข็งค่าขึ้น และถ้าปรับลดลงค่าเงินก็จะอ่อนค่าลงด้วย ( สำหรับการประชุมของธนาคารกลางอื่นๆ ก็ใช้หลักการเดียวกันนี้ด้วย)
Retail Sales
คือ ดัชนีค้าปลีก จะประกาศทุกวันที่ 13 ของเดือน ซึ่งจะเป็นข้อมูลของเดือนที่แล้ว โดยจะวัดจากใบเสร็จของการค้าปลีก ซึ่งโดยปกติจะมองในภาพของสินค้า ซึ่งจะไม่สนใจเรื่องของบริการ และอื่น ๆ (เช่นพวกค่าเบี้ยประกัน หรือค่าทนาย) Retail Sales ที่ไม่รวมการซื้อรถ จะเรียกว่า Core Retail Sales โดยการเปลี่ยนแปลงของตัวเลขการขายจะหมายถึงราคาที่เปลี่ยนแปลงไป ไม่ได้หมายถึงความต้องการซื้อที่ลดลง การที่ตัวเลข Retail Sales มีตัวเลขที่สูงหมายถึงเศรษฐกิจที่ดีและแข็งแกร่ง ซึ่งมีผลทำให้ค่าเงินแข็งค่าขึ้น
University of Michigan Consumer Sentiment Index
คือ การสำรวจความเชื่อมั่นของผู้บริโภคที่ทำโดยมหาวิทยาลัยมิชิเกน จะออกทุกวันศุกร์ที่สองของเดือน โดย Michigan Index จะเปรียบเทียบระหว่างตัวเลขที่คาดหวัง และ สิ่งที่เป็นไปจริง ๆ ถ้าสิ่งที่คาดหวังไว้และสิ่งที่เป็นจริงมีค่าใกล้เคียงกัน หมายถึงเศรษฐกิจเป็นไปในแนวทางเดียวกับที่หวังไว้ ซึ่งจะทำให้ค่าเงินแข็งค่าขึ้น
Producer Price Index หรือ PPI
คือ ดัชนีราคาผู้ผลิต จะประกาศประมาณ วันที่ 11 ของเดือนซึ่งจะเป็นข้อมูลของเดือนก่อน PPI จะเป็นตัววัดราคาของสินค้าในมุมของการค้าส่ง ส่วนดัชนี PPI ที่ไม่รวมพวกอาหารและพลังงานจะเรียกว่า Core PPI ซึ่งจะถูกจับตามองมากกว่า เพราะจะมีผลกับอัตราเงินเฟ้อ เนื่องจาก PPI จะเป็นตัวที่ออกมาก่อน CPI หาก PPI มีค่าสูงมักจะทำให้ CPI มีค่าที่สูงตามไปด้วย ดังนั้นการที่ PPI มีค่าสูงจะทำให้ค่าเงินอ่อนค่าลง
กลุ่มข่าวที่สำคัญ
Initial Weekly Jobless Claims
คือ จำนวนผู้ที่ยื่นขอรับสวัสดิการว่างงานเป็นครั้งแรก หมายถึงคนที่ตกงานใหม่นั่นเอง จะประกาศทุกวันพฤหัส ข้อมูลดังกล่าวจะเป็นข้อมูลของสัปดาห์ที่ผ่านมาซึ่งจะบอกได้ถึงอัตราการว่างงาน โดยปกติจะสังเกตความเปลี่ยนแปลงได้จากข้อมูลก่อนหน้าย้อนหลังไปราว ๆ 4 สัปดาห์ แล้วมาทำเป็นกราฟ ทั่วไปแล้วหากมีความเปลี่ยนแปลงเกิน 30,000 จะเป็นสัญญาณบอกถึงการจ้างงานที่เปลี่ยนแปลงไป (อาจจะดีขึ้นหรือแย่ลง) ตัวเลขที่เพิ่มมากขึ้นหมายถึงคนว่างงานที่มากขึ้น ซึ่งจะส่งผลให้ค่าเงินอ่อนค่าลง
Personal Income
คือ ดัชนีวัดรายได้ส่วนบุคคล จะประกาศประมาณ วันที่ 5 ของการทำงานในแต่ละเดือน Personal Income เป็นตัววัดเกี่ยวกับรายได้ (ไม่สนว่าจะได้มาจากไหน เช่นพวก ค่าเช่า, ได้มาจากรัฐ, เงินเดือน, ดอกเบี้ย หรืออื่น ๆ) โดยตัวนี้จะเป็นตัวชี้ถึงความต้องการในการบริโภคในอนาคต (แต่ไม่เสมอไปนะ เพราะบางทีรายได้ที่มากขึ้น แต่คนอาจจะไม่จับจ่ายใช้สอยก็ได้) ตัวเลข Personal Income ที่สูงจะหมายถึงอำนาจในการซื้อและเป็นสัญญาณบ่งบอกว่าเศรษฐกิจน่าจะดี ซึ่งจะทำให้ค่าเงินแข็งค่าขึ้น
Personal Spending
คือ ดัชนีรายจ่ายส่วนบุคคล จะประกาศประมาณวันแรกของการทำงานของแต่ละเดือน ซึ่งจะเป็นข้อมูลของสองเดือนก่อนหน้า Personal Spending จะเป็นตัวเลขเกี่ยวกับรายจ่ายของบุคคล การจับจ่ายที่ลดลงจะแสดงถึงรายได้ที่ลดลง ซึ่งจะทำให้กระแสเงินโดยรวมลดลง (แต่ก็เช่นเดียวกับ Personal Income บางทีการจ่ายลดลงไม่ได้หมายถึงรายได้ที่ลดลง แต่อาจจะไม่อยากจะจับจ่ายก็เป็นได้) ตัวเลขการจับจ่ายที่มากขึ้น จะเป็นสัญญาณที่บ่งว่าเศรษฐกิจดีขึ้น ซึ่งจะทำให้ค่าเงินแข็งค่าขึ้น
Rate Decision ของ Europe Central Bank (ECB), Bank Of England (BOE), Bank Of Japan (BOJ)
คือ การประกาศตัวเลขอัตราดอกเบี้ยของประเทศต่างๆโดยธนาคารของประเทศนั้นๆ (ที่ไม่ใช่สหรัฐฯ) จะมีผลทำให้ค่าเงินของประเทศนั้น ๆ เปลี่ยนแปลงไป การประกาศอัตราดอกเบี้ยนี้จะมาพร้อมกับการแถลงการณ์เกี่ยวกับอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางประจำประเทศนั้นๆ หากมีการขึ้นอัตราดอกเบี้ยจะทำให้ค่าเงินแข็งค่าขึ้น แต่ถ้ามีการลดอัตราดอกเบี้ยค่าเงินก็จะอ่อนค่าไปด้วย โดยปกติการปรับอัตราดอกเบี้ยจะคำนึงถึง 2 อย่างคือ
- อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ (อาจจะอ่อนไป หรือแข็งไป)
- อัตราเงินเฟ้อ และเงินฝืด (นโยบายการเงิน)
ในส่วนของ ECB จะประกอบไปด้วย 25 ประเทศในยุโรป คือ Italy, France, Luxembourg, Belgium, Germany, Netherlands, Denmark, Ireland, United Kingdom, Greece, Spain, Portugal, Austria, Finland, Sweden, Czech Republic, Estonia, Cyprus, Latvia, Lithuania, Hungary, Malta, Poland, Slovakia และ Slovenia
Durable Goods Orders
คือ ยอดสั่งซื้อสินค้าคงทน จะประกาศประมาณวันที่ 26 ของเดือน ซึ่งเป็นข้อมูลของเดือนก่อน โดยจะเป็นตัววัดปริมาณของการสั่งสินค้า การส่งสินค้า โดยจะเป็นตัววัดถึงภาคการผลิต ซึ่งหากว่าเศรษฐกิจมีปัญหาจะส่งผลให้ปริมาณการสั่งสินค้าลดลง ตัวนี้จะเป็นเหมือนตัวบอกถึง GDP และ PDE การที่ตัวเลข Durable Goods Orders มีค่าที่มากขึ้น จะบ่งบอกถึงเศรษฐกิจที่ดีขึ้น ซึ่งจะทำให้ค่าเงินแข็งค่าขึ้น
Institute of Supply Management หรือ ISM
คือ ดัชนีชี้วัดการจัดซื้อที่จัดทำโดยสถาบันการจัดการซัพพลาย จะประกาศทุกวันแรกของการทำงานของเดือน ซึ่งเป็นข้อมูลของสองเดือนก่อนหน้า ตัวนี้จะเป็นตัวที่บ่งบอกถึงภาคการผลิต ซึ่งรวบรวมข้อมูลอย่างกว้างขวางเกี่ยวกับ การสั่งซื้อสินค้าใหม่, การผลิต, การจ้างงาน, สินค้าคงคลัง, เวลาในการขนส่ง, ราคา, การส่งออก และการนำเข้า การที่ตัวเลข ISM มีค่าที่เพิ่มขึ้นจะแสดงถึงเศรษฐกิจที่ดี และสามารถทำให้ค่าเงินแข็งค่าขึ้นได้
Philadelphia Fed Survey
คือ การสำรวจสภาพเศรษฐกิจโดยธนาคารกลางสหรัฐสาขาฟิลาเดเฟีย จะประกาศราว ๆ วันพฤหัสบดีที่สามของเดือน ซึ่งจะเป็นข้อมูลของสองเดือนก่อนหน้า โดยการสำรวจนี้จะมองมุมกว้างในทิศทางของภาคการผลิต ซึ่งจะมีความสัมพันธ์ร่วมกับ ISM ที่มองเป็นลักษณะของการผลิตเป็นตัว ๆ ไป โดย Philadelphia Fed Survey จะบอกถึงการเปลี่ยนแปลงของยุทธวิธีของผู้ผลิต ประกอบด้วย ชั่วโมงการทำงาน, พนักงาน และอื่น ๆ ซึ่งตัววัดตัวนี้มีความสำคัญมากเพราะจะบอกได้ถึงสภาพแวดล้อมทางธุรกิจทั่วไปในระบบเศรษฐกิจ การที่ตัวเลขเพิ่มขึ้นจะทำให้ค่าเงินแข็งขึ้นด้วย
ISM Service Index หรือ Non-Manufacturing ISM
คือ ดัชนีวัดสภาวะโดยรวมในภาคการบริการที่จัดทำโดยสถาบันการจัดการซัพพลาย จะประกาศราว ๆ วันที่สามของการทำงานของเดือน ซึ่งเป็นข้อมูลของสองเดือนก่อน เป็นรายงานจากการสำรวจกลุ่ม การเงิน, ประกันภัย, อสังหาริมทรัพย์, สื่อสาร และ ทั่วไป การที่ตัวเลข ISM เพิ่มขึ้นหมายถึง demand ที่เพิ่มขึ้น และทำให้ค่าเงินแข็งค่าขึ้น
Factory Orders
คือ มูลค่ารวมของการสั่งซื้อสินค้าจากโรงงานอุตสาหกรรม จะประกาศราว ๆ วันแรกของการทำงานของเดือน ซึ่งเป็นข้อมูลของสองเดือนก่อน Factory Order เป็นการวัดการสั่งสินค้าทั้งหมด การสั่งสินค้าที่สูงหมายถึง demand ที่เพิ่มมากขึ้น ซึ่งจะเกิดขึ้นหลังจากเศรษฐกิจที่ดีขึ้น ทำให้ค่าเงินแข็งค่าขึ้น
Industrial Production
คือ ดัชนีชี้วัดการผลิตภาคอุตสาหกรรม จะประกาศประมาณกลางเดือน เป็นข้อมูลย้อนหลัง 1 เดือน ซึ่งเป็นตัววัดการผลิตในภาคอุตสาหกรรมว่าได้ผลออกมาจริง ๆ เท่าไร การที่ตัวเลขออกมาสูงขึ้นหมายถึงความต้องการที่เพิ่มขึ้น แสดงว่าเศรษฐกิจดี จึงมีผลทำให้ค่าเงินแข็งค่าขึ้น
Non-Farm Productivity
คือ ดัชนีวัดผลผลิตนอกภาคเกษตร จะประกาศประมาณวันที่ 7 ของเดือนที่ 2 ของไตรมาส เป็นข้อมูลของไตรมาสที่แล้ว อันนี้เป็นตัววัดผลงานของคนงานและต้นทุนในการผลิตของสินค้า ในสภาวะที่เงินเฟ้อมีความสำคัญต่อตลาด ตัวเลขนี้สามารถที่จะทำให้ตลาดเคลื่อนไหวได้โดยสามารถบอกถึงอนาคตที่เปลี่ยนไป เช่น ถ้าตัวเลข GDP ออกมาดี แต่ตัวเลขนี้กลับลดลงขัดกันกับ GDP ก็สามารถทำให้มีผลกระทบต่อตลาดได้ การที่ตัวเลข Non-Farm Productivity เพิ่มขึ้น หมายถึงการยืนยันในเรื่องของพื้นฐานของเศรษฐกิจที่ดี และส่งผลให้ค่าเงินแข็งค่าขึ้น
Current Account Balance
คือ ดุลบัญชีเดินสะพัด จะประกาศประมาณ วันที่ 7 ของเดือนที่ 2 ของ ไตรมาส เป็นข้อมูลไตรมาสที่แล้ว Current Account Balance จะบอกถึงความแตกต่างของเงินสำรอง และการลงทุน ตัวนี้เป็นตัวสำคัญในส่วนของการซื้อขายกับต่างประเทศ ถ้า Current Account Balance เป็น + จะหมายถึงเงินออมในประเทศมีสูง แต่ถ้าเป็น - จะหมายถึงการลงทุนภายในประเทศเป็นเงินจากต่างประเทศมาลงทุน ถ้า Current Account Balance เป็น + ส่งผลให้ค่าเงินแข็งค่าขึ้น
Consumer Confidence
คือ ดัชนีวัดความเชื่อมั่นของผู้บริโภค จะประกาศทุกวันอังคารสุดท้ายของเดือน เป็นข้อมูลเดือนปัจจุบัน เป็นการสำรวจในภาคครัวเรือน โดยตัวเลขตัวนี้จะมีความสัมพันธ์กับเรื่องของ การว่างงาน อัตราเงินเฟ้อ และรายได้ที่แท้จริง การที่ตัวเลขมีค่าที่เพิ่มมากขึ้นหมายถึงเศรษฐกิจที่ดีขึ้น ทำให้ค่าเงินแข็งค่า
NY Empire State Index
คือ ตัวบ่งชี้ทางเศรษฐกิจในระดับภูมิภาค จากการสำรวจภาคผู้ผลิต จัดทำโดยธนาคารกลางนิวยอร์ก และจะประกาสออกมาประมาณกลางเดือน ถือว่าเป็นตัวบ่งชี้ภาวะเศรษฐกิจของหนึ่งในรัฐที่มีประชากรมากที่สุดในสหรัฐอเมริกา หากตัวเลขมีค่ามากขึ้น จะทำให้ค่าเงินแข็งค่า
Leading Indicators
คือ ดัชนีชี้วัดสภาวะเศรษฐกิจโดยรวม จะประกาศในช่วงสองสามวันแรกของการทำงานของเดือน ซึ่งเป็นข้อมูลของสองเดือนก่อน ซึ่งจะเป็นบทสรุปของตัวเลขเศรษฐกิจที่ประกาศไปก่อนหน้านี้ ประกอบไปด้วย New Order, Jobless Claim, Money Supply, Average Workweek, Building Permits และ Stock Prices ถ้าตัวเลขออกมาสูงก็หมายถึงเศรษฐกิจดี จะทำให้ค่าเงินแข็งค่าด้วย
Business Inventories
คือ ยอดสินค้าคงคลังในภาคธุรกิจที่พร้อมขาย จะประกาศประมาณกลางเดือน ซึ่งเป็นข้อมูลของสองเดือนก่อน เป็นข้อมูลเกี่ยวกับการขายและสินค้าคงคลังจากภาคการผลิต การค้าส่ง และการค้าปลีก ตัวเลขที่สูงขึ้นของ Business Inventory หมายถึงสภาวะเศรษฐกิจที่ดี ซึ่งทำให้ค่าเงินแข็งค่า
IFO Business Indexes
คือ ดัชนีวัดสภาวะในภาคธุรกิจของเยอรมนี จะประกาศในสัปดาห์สุดท้ายของเดือน ซึ่งจะเป็นข้อมูลของเดือนก่อน ตัวเลขที่สูงหมายถึงเศรษฐกิจที่ดี จะทำให้ค่าเงินแข็งค่าขึ้น
สำหรับคนที่เทรดทอง ควรรู้ว่าตัวเลขเศรษฐกิจที่ประกาศนั้นมีผลต่อราคาทองคำอย่างไร โดยปกติราคาทองคำจะขึ้นอยู่กับ
1. อัตราแลกเปลี่ยนของ USD
2. ราคาน้ำมัน
3. ราคาของโลหะพื้นฐาน และ โลหะอื่น พวก ทองแดง เงิน แพตตินั่ม พาลาเดียม
4. ข่าวเศรษฐกิจทั่วไปอย่างเช่น ความต้องการทองคำในบางประเทศ, นโยบายของรัฐบาลในบางประเทศ เป็นต้น
แต่ตัวเลขที่จะมีผลกระทบต่อราคาทองโดยตรงมีอยู่ 2 อย่าง คือ อัตราแลกเปลี่ยน และ ราคาน้ำมัน
1. อัตราแลกเปลี่ยน โดยปกติ ถ้าไม่มีข่าวอย่างอื่น (หมายถึงพวกข่าวก่อการร้าย ภัยธรรมชาติ ฯลฯ) ที่มีน้ำหนักมากกว่า อัตราแลกเปลี่ยนก็จะมีผลตรง ๆ โดยไม่มีอย่างอื่นมาทำให้ราคาเพี้ยนไปจากเดิม โดยปกติแล้ว ทองคำจะขึ้นเมื่อ USD อ่อนค่า และ ทองคำจะลง เมื่อ USD แข็งค่า โดยปรกติการจะดุว่า USD อ่อนค่า หรือแข็งค่า ก็มักจะเอามาเทียบกับสกุล 2 สกุลหลัก คือ JPY และ EUR หากสองสกุลเงินนี้ไปในทิศทางเดียวกันเมื่อเทียบกับ USD ก็แสดงว่า USD อ่อนค่า หรือ แข็งค่าจริงๆ
2. ราคาน้ำมัน จะเป็นตัวช่วยดัน หรือ ฉุด ราคาทองคำให้ไปในทิศทางเดียวกันกับราคาน้ำมัน
ขอบคุณแหล่งข้อมูล
http://www.thaiforexschool.com/viewfulldetial.php?id=178